การจัดตั้งสถานบริการ

สถานที่ติดต่อ

ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้

- กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
   (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
   (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
   (๓) ใบรับรองแพทย์
   (๔) แบบแปลนแผนผังแสดงพื้นที่การให้บริการ
   (๕) แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งสถานบริการ
   (๖) หลักฐานได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร
   (๗) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด ๔ x ๖ เซนติเมตร จำนวน ๓ รูป
   (๘) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอาคารหรือสถานที่ที่ใช้ตั้งสถานบริการหรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งสถานบริการ
- กรณีเป็นนิติบุคคล
   (๑) สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคล 
   (๒)หนังสือแต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคล

ค่าธรรมเนียม

(๑) ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา ๓ 
   (ก) พื้นที่ไม่เกิน ๑๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
   (ข)พื้นที่เกิน ๑๐๐ ตร.ม.แต่ไม่เกิน ๓๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๓๐,๐๐๐ บาท
   (ค) พื้นที่เกิน ๓๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๒) ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา ๓ (๒)
   (ก) พื้นที่ไม่เกิน ๑๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๓๐,๐๐๐ บาท
   (ข) พื้นที่เกิน ๑๐๐ ตร.ม.แต่ไม่เกิน ๓๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๔๐,๐๐๐ บาท
   (ค) พื้นที่เกิน ๓๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๓) ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา ๓ (๓)
   (ก) ห้องบริการไม่เกิน ๓๐ ห้อง ฉบับละ ๓๐,๐๐๐ บาท
   (ข) ห้องบริการเกิน ๓๐ ห้องแต่ไม่เกิน ๕๐ห้อง ฉบับละ ๔๐,๐๐๐ บาท
   (ค) ห้องบริการเกิน ๕๐ ห้อง ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๔) ใบอนุญาตตั้งสถานบริการรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๓ (๔)
   (ก) พื้นที่ไม่เกิน ๑๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
   (ข) พื้นที่เกิน ๑๐๐ ตร.ม.แต่ไม่เกิน ๓๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๓๐,๐๐๐ บาท
   (ค) พื้นที่เกิน ๓๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๕) ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา ๓ (๕)
   (ก) พื้นที่ไม่เกิน ๑๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
   (ข) พื้นที่เกิน ๑๐๐ ตร.ม.แต่ไม่เกิน ๓๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๓๐,๐๐๐ บาท
   (ค) พื้นที่เกิน ๓๐๐ ตร.ม. ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๖) ใบแทนใบอนุญาตตั้งสถานบริการ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท

ระยะเวลา

-

หมายเหตุ


การขออนุญาตตั้งสถานบริการ


ความหมายของสถานบริการ
สถานบริการ คือ สถานที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในการค้า ดังนี้
1. สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มี และประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ได้แก่ ไนต์คลับ บาร์ ภัตตาคาร เป็นต้น {สถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ.2509}
2. สถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย และบริการโดยมีหญิงบำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า (ได้แก่ ภัตตาคารที่มีหญิงบำเรอนั่งร่วมโต๊ะปรนนิบัติลูกค้า หรือโรงน้ำชาที่มีเตียงพักผ่อนหลับนอน และมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า เป็นต้น) {สถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509}
3. สถานที่อาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า (ได้แก่ สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการนวดแก่ลูกค้ารวมตลอดถึงร้านตัดผมหรือดัดผมซึ่งมีห้องนวดแก่ลูกค้าด้วย เป็นต้น) {สถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509}
4. สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือ การแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง (ได้แก่ ร้านคอฟฟี่ช้อบ ร้านขายอาหารหรือเครื่องดื่มโดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง เป็นต้น) {สถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509}
 
หลักเกณฑ์การตั้งสถานบริการ
อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งเป็นสถานบริการ ต้อง
1. ไม่อยู่ใกล้ชิดวัด สถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา โรงเรียนหรือสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สโมสรเยาวชน หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ในขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที่ดังกล่าวแล้ว
2. ไม่อยู่ในย่านที่ประชาชนอยู่อาศัย อันจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
3. มีทางถ่ายเทอากาศสะดวก
4. ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายว่าจะไม่อนุญาตให้มีการตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(1) (2) และ (3) เว้นแต่ สถานบริการที่ได้ขออนุญาตก่อนที่จะมีนโยบายไม่อนุญาตดังกล่าว หรือ เป็นสถานบริการที่ตั้งขึ้นในโรงแรมที่ได้มาตรฐานเพื่อการท่องเที่ยวหรือได้รับบัตรส่งเสริมจาก BOI ซึ่งจะอนุโลมให้ตั้งได้เฉพาะสถานบริการตามมาตรา 3(4) ในโรงแรมดังกล่าวได้ โรงแรมละ 1 แห่ง
 
ผู้มีอำนาจอนุญาตหรือรับแจ้งการตั้งสถานบริการ (พนักงานเจ้าหน้าที่)
จังหวัดต่างๆ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
กทม. คือ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
 
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
พิจารณาออกใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1)(2)(3) ภายใน 90 วัน, รับทราบการตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(4), พิจารณาต่ออายุใบอนุญาต พิจารณาการย้าย แก้ไข เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสถานบริการ, สั่งพักใช้ใบอนุญาต เพิกถอน,สั่งผู้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(4)หยุดกิจการครั้งละไม่เกิน 30 วัน
การขอต่ออายุใบอนุญาตสถานบริการ

หมายเหตุ กรณีใน กทม. ให้ติดต่อที่ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ หรือที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การขออนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(4)

หมายเหตุ กรณีใน กทม. ให้ติดต่อที่ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ หรือที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ


หลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับสถานบริการที่ควรทราบ
การขอเปลี่ยนผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ
1. การขอเปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการโอนใบอนุญาต กฎหมายมิได้กำหนดให้โอนแก่กันได้
2. กรณีเป็นนิติบุคคลขอเปลี่ยนผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคล ให้อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
การย้าย แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมสถานบริการ
1. ห้ามย้ายสถานบริการ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย เช่น ไฟไหม้ และต้องย้ายภายในจังหวัดเดียวกัน
2. ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุผลจำเป็น
3. ต่อเติมให้กว้างขวางได้ แต่สำหรับกรณีเพิ่มห้องเพื่อปรับปรุงกิจการให้อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
การโอนกิจการ
1. ถือเป็นการอนุญาตใหม่ มีนโยบายไม่อนุญาต เว้นแต่โอนโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ซึ่งศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต
2. กรณีที่มีการนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลและคู่กรณีทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาและ รวบรวมหลักฐานพร้อมเหตุผลเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป
 
อัตราค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตเกี่ยวกับสถานบริการ
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ เก็บเป็นรายปี ดังนี้
1. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1)
1.1 สถานเต้นรำประเภทที่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ฉบับละ 1,000 บาท
1.2 สถานเต้นรำประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ฉบับละ 500 บาท
1.3 สถานรำวงหรือรองเง็งประเภทที่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ฉบับละ 50 บาท
1.4 สถานรำวงหรือรองเง็งประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ฉบับละ 20 บาท
2. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (2) ฉบับละ 1,000 บาท
3. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (3) ฉบับละ 1,000 บาท
4. ใบแทนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามข้อ 1.1 และ 1.2 ฉบับละ 100 บาท
5. ใบแทนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามข้อ 1.3 และ 1.4 ฉบับละครึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ
6. การต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการครั้งละครึ่งหนึ่ง ของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ
 
ผู้มีอำนาจตรวจตรา ควบคุมดูแล สถานบริการ
นายอำเภอ และตำรวจตั้งแต่ชั้นสารวัตรขึ้นไป มีหน้าที่ในการตรวจตรา ควบคุมดูแลให้สถานบริการดำเนินกิจการเป็นไปโดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี กรณีที่มีคำสั่งปิดสถานบริการให้นายอำเภอ แจ้งคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตทราบเป็นหนังสือ และ ปิดสำเนาหนังสือคำสั่งไว้ที่หน้าสถานบริการ
ผู้รับอนุญาตสามารถอุทธรณ์คำสั่งต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยโดยตรง หรืออุทธรณ์ผ่านนายอำเภอท้องที่ก็ได้ ภายในเวลา 15 วันนับแต่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของ ปลัดกระทรวงมหาดไทยถือเป็นที่สุด

บัญชีแสดงเวลา เปิด-ปิด สถานบริการประเภทต่าง ๆ ในปัจจุบัน
 
ลำดับประเภทสถานบริการเวลาเปิด-ปิดกฎหมาย/คำสั่ง
1ม.3(1) สถานเต้นรำ รวม หรือรองเง็ง
ประเภทที่มี และประเภทที่ไม่มี
หญิงพาตเนอร์บริการ
ทุกวัน เวลา 21.00-02.00 น.
ของวันรุ่งขึ้น
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2524)
2ม.3(2) สถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือ
เครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย
โดยมีหญิงบำเรอ
สำหรับปรนนิบัติลูกค้า
ทุกวัน เวลา 11.00-14.00 น.
และ เวลา 18.00-24.00 น.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2521)
ม.3(2) สถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือ
เครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย
โดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน
หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
วันธรรมดา เวลา 16.00-22.00 น.
วันหยุด เวลา 12.00-22.00 น.
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 10/2523
ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2523
3ม.3(3) สถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัว
ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า
วันธรรมดา เวลา 18.00-24.00 น.
วันหยุด เวลา 14.00-24.00 น.
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 10/2523
ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2523
ม.3(3) สถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัว
ซึ่งมีร้านตัดผม หรือดัดผมด้วย
ทุกวัน เวลา 08.00-20.00 น.กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2521)
และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 10/2523
ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2523
4ม.3(4) สถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือ
เครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย
โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี
หรือการแสดงอื่นใด
เพื่อการบันเทิง
ทุกวัน เวลา 06.00-01.00 น.
เฉพาะการแสดงดนตรี
หรือการแสดงอื่นใด
เพื่อการบันเทิง
ให้กระทำได้ระหว่าง
ทุกวัน เวลา 11.00-14.00 น.
และ เวลา 18.00-01.00 น.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2524)

สถานที่ติดต่อเพื่อขออนุญาตตั้งสถานบริการ
ต่างจังหวัด ติดต่อยื่นเรื่องราวขออนุญาตตั้งสถานบริการได้ ที่อำเภอท้องที่ ที่สถานบริการนั้นตั้งอยู่ (ที่ทำการปกครองอำเภอ) หรือขอทราบ รายละเอียดได้ที่
1. สำนักงานจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
2. กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร. 2211133, 2212893 E-mail moi0208@moi.go.th
กทม. ติดต่อที่ สถานีตำรวจท้องที่ หรือ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 2803188-9


พระราชบัญญัติ

สถานบริการ

พ.ศ. ๒๕๐๙

-----------------------

ในพระปรมาภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สังวาลย์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙

เป็นปีที่ ๒๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายเพื่อควบคุมสถานบริการบางประเภท

พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.๒๕๐๙

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และเมื่อจะให้ใช้บังคับในท้องที่อื่นใดอีก ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๓/ตอนที่ ๘๘/หน้า ๖๒๖/๔ ตุลาคม ๒๕๐๙

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

 มาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑

สถานบริการ หมายความว่า สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้าดังต่อไปนี้

 มาตรา ๓ นิยามคำว่า สถานบริการ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖

(๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง เป็นปกติธุระประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ

(๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการโดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า

(๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า เว้นแต่

(ก) สถานที่ซึ่งผู้บริการได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทยตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทยตามกฎหมายดังกล่าว หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

(ข) สถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะต้องมีลักษณะของสถานที่การบริการหรือผู้ให้บริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย ประกาศดังกล่าวจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้นด้วยก็ได้ หรือ

(ค) สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายหรือให้บริการ โดยมีรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(ก) มีดนตรี การแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงและยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้นักร้อง นักแสดง หรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า

(ข) มีการจัดอุปกรณ์การร้องเพลงประกอบดนตรีให้แก่ลูกค้า โดยจัดให้มีผู้บริการขับร้องเพลงกับลูกค้า หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้พนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า

(ค) มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น หรือจัดให้มีการแสดงเต้น เช่น การเต้นบนเวที หรือการเต้นบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม

(ง) มีลักษณะของสถานที่ การจัดแสงหรือเสียง หรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(๕) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา

(๖) สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความว่า ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

 มาตรา ๓ นิยามคำว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖

พนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับกรุงเทพมหานคร หมายความถึง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในจังหวัดอื่น หมายความถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด

มาตรา ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

ในการพิจารณาอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คำนึงถึงประวัติการกระทำความผิดต่อกฎหมายของผู้ขออนุญาตตั้งสถานบริการประกอบด้วย

หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประวัติการกระทำความผิดต่อกฎหมายของผู้ขออนุญาตตั้งสถานบริการตามวรรคสองรวมทั้งการขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖

มาตรา ๔ ทวิ (ยกเลิก)

 มาตรา ๔ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖

มาตรา ๕ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควรจะกำหนดเขตอันมีปริมณฑลจำกัดในท้องที่ใดเพื่อการอนุญาตหรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา ๔ ก็ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๖ ผู้ขออนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา ๔ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(๑) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(๒) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรม

(๓) ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(๔) ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง

(๕) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา ในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง ตามกฎหมายว่าด้วยการปราม การทำให้แพร่หลายและการค้าวัตถุอันลามก หรือตามกฎหมายว่าด้วยการปรามการค้าประเวณี

ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาตตั้งสถานบริการ ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติตามความในวรรคก่อน

มาตรา ๗ อาคาร หรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งเป็นสถานบริการตามมาตรา ๔ ต้อง

(๑) ไม่อยู่ใกล้ชิดวัด สถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา โรงเรียนหรือสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สโมสรเยาวชน หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ในขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที่ดังกล่าวแล้ว

(๒) ไม่อยู่ในย่านที่ประชาชนอยู่อาศัย อันจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง

(๓) มีทางถ่ายเทอากาศสะดวก

มาตรา ๘ ถ้าอาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา ๔ เป็นของผู้อื่น ในชั้นขออนุญาตตั้งสถานบริการ ผู้ขออนุญาตต้องมีหนังสือแสดงว่าได้รับความยินยอมจากเจ้าของอาคารหรือสถานที่นั้น

มาตรา ๙ เมื่อได้รับคำขออนุญาตตั้งสถานบริการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาสั่งภายในเก้าสิบวัน

มาตรา ๑๐ ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต

ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต จะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว จะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น

มาตรา ๑๑ ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในกรุงเทพมหานคร ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมตำรวจ ในจังหวัดอื่น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย การอุทธรณ์ให้กระทำภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันได้รับหนังสือพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการไม่อนุญาต หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต

คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมตำรวจหรือปลัดกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่กรณีให้เป็นที่สุด

หนังสือของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในวรรคแรก ต้องแสดงเหตุผลในการไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ผู้ขอทราบด้วย

 มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑

มาตรา ๑๒ ในกรณีใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบว่าใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุด

มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ ย้าย แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมสถานบริการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๔ ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการจัดทำบัตรประวัติของพนักงานก่อนเริ่มเข้าทำงานในสถานบริการ

ในกรณีที่รายการในบัตรประวัติเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการแจ้งการเปลี่ยนแปลงภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

การจัดทำ การเก็บรักษา และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงบัตรประวัติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

การจัดทำบัตรประวัตินั้น ต้องไม่ระบุหน้าที่ของพนักงานในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานนั้น

 มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๑๕ ในกรณีบัตรประวัติซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ สถานบริการ สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการต้องจัดทำบัตรประวัติใหม่ ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่บัตรนั้นสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ และให้นำความในมาตรา ๑๔ วรรคแรก มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ

(๑) รับผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์เข้าทำงานในสถานบริการ

(๒) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติวุ่นวาย หรือครองสติไม่ได้เข้าไปหรืออยู่ในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ

(๓) จำหน่ายสุราให้แก่ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้

(๔) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้ซึ่งไม่มีหน้าที่เฝ้าดูแลสถานบริการนั้นพักอาศัยหลับนอนในสถานบริการ

(๕) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ

(๖) ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการนำอาวุธเข้าไปในสถานบริการ เว้นแต่เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ในเครื่องแบบนำเข้าไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

 มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๑๖/๑๑๐ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ซึ่งมิได้ทำงานในสถานบริการนั้นเข้าไปในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ

เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการตรวจเอกสารราชการที่มีภาพถ่ายและระบุอายุของผู้ซึ่งจะเข้าไปในสถานบริการ

ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะเข้าไปในสถานบริการไม่ยินยอมให้ตรวจเอกสารราชการหรือไม่มีเอกสารราชการและเข้าไปในสถานบริการ ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยพลัน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งและหลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งและการรับแจ้งให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

ในการดำเนินการตามวรรคสองหรือวรรคสาม ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการจะมอบหมายให้พนักงานของสถานบริการเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้

๑๐ มาตรา ๑๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๑๖/๒๑๑ ห้ามมิให้ผู้ใดนำอาวุธเข้าไปในสถานบริการ เว้นแต่ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ในเครื่องแบบและนำเข้าไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

๑๑ มาตรา ๑๖/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๑๖/๓๑๒ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติวุ่นวายหรือคองสติไม่ได้เข้าไปหรืออยู่ในสถานบริการระหว่างเวลาทำการมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ หรือมีการฝ่าฝืนมาตรา ๑๖/๒ ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยพลัน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งและหลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งและการรับแจ้งให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการจะมอบหมายให้พนักงานของสถานบริการเป็นผู้แจ้งแทนก็ได้

๑๒ มาตรา ๑๖/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๑๗๑๓ การกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ การจัดสถานที่ภายนอกและภายในเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อความสะอาดหรือเพื่อความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ การใช้โคมไฟหรือการให้พนักงานติดหมายเลขประจำตัวในสถานบริการให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

๑๓ มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๑๘๑๔ ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา ๓ (๑) จะจัดให้มีสุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย หรือจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงด้วยก็ได้

๑๔ มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๒.๒๕๒๑

มาตรา ๑๙ ในการจัดให้มีการแสดงเพื่อความบันเทิง ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการมีหน้าที่ต้องควบคุมการแสดงมิให้เป็นไปในทางลามกหรืออนาจาร และมิให้มีสัตว์ร้ายเข้าร่วมการแสดงในสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ชม

 

มาตรา ๒๐๑๕ เมื่อปรากฏว่า ผู้ได้รับอนุญาตตั้งสถานบริการฝ่าฝืนมาตรา ๑๙ ในกรุงเทพมหานคร นายตำรวจท้องที่ตั้งแต่ชั้นสารวัตรขึ้นไป ในจังหวัดอื่น ตั้งแต่นายอำเภอท้องที่ขึ้นไปมีอำนาจสั่งให้งดการแสดงนั้นได้

๑๕ มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๒.๒๕๒๑

มาตรา ๒๑๑๖ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการขาดคุณสมบัติ หรือเมื่อสถานบริการใดดำเนินกิจการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ หรือดำเนินกิจการโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจไม่ต่ออายุใบอนุญาตหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ โดยให้คำนึงถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด

การสั่งพักใช้ใบอนุญาต ให้สั่งพักได้ดังต่อไปนี้

(๑) กรณีดำเนินกิจการสถานบริการโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ (๒) หรือ (๓) หรือกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๗ เฉพาะในส่วนที่ไม่ใช่กำหนดวันเวลาเปิดปิดสถานบริการ ให้สั่งพักได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน

(๒) กรณีดำเนินกิจการสถานบริการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ หรือดำเนินกิจการสถานบริการโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ (๑) (๔) (๕) หรือ (๖) มาตรา ๑๖/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๖/๒ มาตรา ๑๙ หรือกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๗ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกำหนดวันเวลาเปิดปิดสถานบริการ ให้สั่งพักได้ครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากรณีใดพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีคำสั่งหรือไม่มีคำสั่งต่ออายุใบอนุญาตหรือพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล รวมทั้งหลักเกณฑ์การกำหนดระยะเวลาในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการอุทธรณ์คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๒๒ หากอุทธรณ์โดยเหตุตามวรรคสอง (๑) ให้การอุทธณ์เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตนั้น หากอุทธรณ์โดยเหตุตามวรรคสอง (๒) หรือเหตุอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตนั้น แต่ต้องมีคำสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอให้ทุเลาการบังคับ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่มีคำสั่งใดให้ถือว่าเป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตนั้น

ระยะเวลาในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่หน่วยงานที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ประจำอยู่ได้รับอุทธรณ์ ระยะเวลาในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งอื่นที่ไม่ใช่คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

๑๖ มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๒๑๗ ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการในกรุงเทพมหานครมีสิทธิอุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมตำรวจ ในจังหวัดอื่นผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการมีสิทธิอุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย การอุทธรณ์ให้กระทำภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการสั่งพักใช้หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาต

คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมตำรวจหรือปลัดกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่กรณีให้เป็นที่สุด

๑๗ มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๒.๒๕๒๑

มาตรา ๒๓ ก่อนครบกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้หนึ่งผู้ใดจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพื่อตั้งสถานบริการ ณ สถานที่เดียวกันนั้นไม่ได้

มาตรา ๒๔๑๘ เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีเหตุอันควรเชื่อหรือสงสัยว่ามีการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ในสถานบริการแห่งใด ให้เจ้าพนักงานนั้นมีอำนาจเข้าไปตรวจภายในสถานบริการนั้นได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง

๑๘ มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๒.๒๕๒๑

มาตรา ๒๕๑๙ ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ ผู้ดำเนินกิจการ ลูกจ้างหรือคนรับใช้ของสถานบริการ ผู้ใดสามารถให้ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๒๔ ได้ แต่ไม่ยอมให้ความสะดวกนั้นเมื่อเจ้าพนักงานร้องขอ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๑๙ มาตรา ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๒.๒๕๒๑

มาตรา ๒๕ ทวิ๒๐ (ยกเลิก)

๒๐ มาตรา ๒๕ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๖๒๑ ผู้ใดตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือดำเนินกิจการสถานบริการเช่นว่านั้นในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตหรือดำเนินกิจการสถานบริการผิดประเภทที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๒๑ มาตรา ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๖ ทวิ๒๒ (ยกเลิก)

๒๒ มาตรา ๒๖ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๗๒๓ ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๖/๑ วรรคหนึ่ง หรือกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

๒๓ มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๘๒๔ ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๖(๕) หรือ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท

๒๔ มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๘/๑๒๕ ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖/๑ วรรคสองหรือวรรคสาม หรือมาตรา ๑๖/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

ผู้ใดเข้าไปในสถานบริการโดยไม่มีหรือไม่ยอมให้ตรวจเอสารราชการตามมาตรา ๑๖/๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

๒๕ มาตรา ๒๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๘/๒๒๖ ผู้ใดนำอาวุธเข้าไปในสถานบริการโดยฝ่าฝืนมาตรา ๑๖/๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่อาวุธตามวรรคหนึ่งเป็นอาวุธปืน ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่อาวุธตามวรรคหนึ่งเป็นวัตถุระเบิดหรืออาวุธสงคราม ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้นด้วย

๒๖ มาตรา ๒๘/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๘/๓๒๗ ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ หรือผู้ใดจัดให้มีการแสดงเพื่อความบันเทิงในสถานบริการที่เป็นไปในทางลามกหรืออนาจาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๒๗ มาตรา ๒๘/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๘/๔๒๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น

๒๘ มาตรา ๒๘/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔.๒๕๔๖

มาตรา ๒๙ เมื่อพระราชบัญญัตินี้ได้ใช้บังคับในท้องที่ใดให้ผู้ตั้งสถานบริการตามมาตรา ๓ (๑) (๒) หรือ (๓) อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำเนินกิจการต่อไปได้ในเมื่อได้จัดทำบัตรประวัติตามที่บังคับไว้ในมาตรา ๑๔ และมาขอรับใบอนุญาตตั้งสถานบริการนั้น โดยเสียค่าธรรมเนียม ภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในท้องที่นั้น

ให้ผู้ตั้งสถานบริการตามมาตรา ๓ (๔) อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติตามมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ภายในกำ หนดสามสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในท้องที่นั้น

มาตรา ๓๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

 

      ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

            จอมพล ถนอม กิตติขจร

                    นายกรัฐมนตรี


เว็บสำเร็จรูป
×