ประกอบด้วยคดี ดังนี้
- ฟ้องหย่า
- เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงชีพ แบ่งสินสมรส อำนาจปกครองบุตร
- ฟ้องชู้ เรียกค่าทดแทน
- ผิดสัญญาหมั้น เรียกค่าทดแทน เรียกคืนของหมั้น - สินสอด
- คู่สมรสขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราว
- ฟ้องบังคับตามสัญญาก่อนสมรส
- ร้องขอเปลี่ยนแปลงเพิกถอนข้อสัญญาในสัญญาก่อนสมรส
- ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในการจัดการสินสมรส
- ร้องขอให้ลงชื่อสามีหรือภริยาเป็นเจ้าของร่วมกันในสินสมรสจำพวกที่ระบุไว้ในเอกสารสำคัญ
- ร้องขออนุญาตจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์
- ร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร
- ร้องขอถอนจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร
- ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
- ฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตร
- ร้องขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
- ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งวิกลวิกลจริต และขอถอดถอน - ตั้งผู้อนุบาล
- ถอนอำนาจปกครองบุตร
- ฟ้องเรียกบุตรคืน
- ขอให้ศาลสั่งเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง
- ร้องขอเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เพื่อตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
- ฟ้องขออนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวหรือสั่งให้แยกสินสมรส
- ร้องขอตั้งผู้ปกครองเด็กผู้เยาว์
1 ในกรณีที่ผู้เยาว์มีประโยชน์หรือส่วนได้เสียเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อศาลได้รับคำฟ้องหรือคำร้องใดๆ ในคดีครอบครัว ศาลต้องแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ที่ผู้เยาว์อยู่ในเขตอำนาจทราบก่อนตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มาตรา 117 และฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 118
2 คดีครอบครัวที่มีผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย องค์คณะจะประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน และผู้พิพากษาสมทบอย่างน้อย 2 คน
ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีแพ่งนั้นๆ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่นั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ได้บัญญัติทางแก้ไว้ว่า ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยซึ่งชี้ขาด และคำวินิจฉัยดังกล่าวให้เป็นที่สุด